ปู
ปู (
อังกฤษ:
Crab) เป็นสัตว์พวกเท้าปล้องชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัม
อาโทรโพดา ในอันดับฐานบราชีอูรา มีลักษณะแปดขา มีหลายชนิดที่อยู่ทั้ง
น้ำจืดและ
ทะเล รวมถึงอยู่แต่เฉพาะบน
บก
ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่างโดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้าย
ปูม้า บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล มีขาสั้นและแข็งแรงเพื่อเกาะยึดกับหิน เช่น
ปูใบ้ก้ามดำ [2]
ปูบางชนิดมีรูปร่างแปลกเพื่อพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม บางชนิดมีสีและลักษณะกระดองเหมือน
กัลปังหา ปะการังอ่อน หรือ
ดาวขนนก ในจำนวนนี้ยังมีปูที่นำ
ฟองน้ำหรือ
สาหร่ายมาติดตามตัวเพื่อใช้พรางกาย
[2]
ปูกลุ่มหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมากกว่ากลุ่มอื่นคือ
ปูเสฉวนจะเปลี่ยนส่วนท้องให้นิ่มและขดงอเพื่อสามารถเข้าไปอยู่ใน
เปลือกหอย นำเปลือกหอยติดตัวไปด้วยตลอดเวลา
[2]
ปูทะเล หรือ
ปูดำ
(
อังกฤษ: serrated mud crab, mangrove crab, black crab, giant mud crab,
ชื่อวิทยาศาสตร์:
Scylla serrata) เป็น
ปูชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ใน
ทะเล มีกระดองกลมรีเป็นรูปไข่ สีดำปนแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมนำมาปรุงสดเป็นอาหาร
ลักษณะ
มีลักษณะกระดองกลมรีเป็นรูปไข่ สีดำปนแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม ขอบระหว่างนัยน์ตามีหนาม 4 อัน ส่วนด้านข้างนัยน์ตาแต่ละข้างมีหนามข้างละ 8-9 อัน ก้ามจะมีหนามแหลม ส่วนขาอื่น ๆ ไม่มีหนาม ตัวผู้จะมีก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด เจริญเติบโตด้วยวิธีการลอกคราบ โดยตรงขอบหลังของกระดองจะเผยออกให้เห็นกระดองใหม่ยังเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ ซึ่งเรียกว่า ปูสองกระดอง ถ้าหากเป็นตัวเมียที่มีความสมบูรณ์เพศจะมีไข่อยู่ในกระดอง ซึ่งพบมากในเดือนพฤศจิกายน ปลายสุดของขาคู่ที่ 2-4 มีลักษณะแหลมเรียกว่า "ขาเดิน" ทำหน้าที่ในการเดินเคลื่อนที่ ส่วนขาคู่ที่ 5 เป็นคู่สุดท้ายเรียกว่า "ขาว่ายน้ำ"ตอนปลายสุดของขาคู่นี้มีลักษณะแบนคล้ายใบพาย ใช้สำหรับว่ายน้ำ
ปูที่เกิดใหม่ จะใช้เวลาลอกคราบจนกระทั่งกระดองแข็งแรงแล้วออกมาหากินได้ ใช้เวลาประมาณ 7 วัน การเจริญเติบโตจนถึงวัยเจริญพันธุ์ใช้เวลาประมาณ 1.5 ปี ตัวผู้ขนาดโตเต็มที่อาจหนักได้ถึง 3.5 กิโลกรัม ขนาดกระดองกว้างกว่า 24 เซนติเมตร
ปูทะเลในบางแหล่งจะมีสีสันที่แตกต่างกันออกไปมากมาย ทั้ง สีเขียวหม่น, สีฟ้า, สีขาวอ่อน ๆ หรือสีเหลือง ซึ่งปูเหล่านี้จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ปูทองโหลง, ปูทองหลาง, ปูขาว เป็นต้น[1]
[แก้] การขยายพันธุ์
ฤดูกาลวางไข่ผสมพันธุ์ของปูทะเลอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม แม่ปูจะมีไข่ในระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม สามารถ วางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยจะวางไข่ชุกชุมในระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม ไข่ของปูทะเลจะมีสีส้มแดง เมื่อไข่แก่ขึ้นจะเป็นสีน้ำตาลเกือบดำ ซึ่งจะถูกปล่อยออกมานอกกระดองบริเวณใต้จับปิ้ง[2]
[แก้] การกระจายพันธุ์และความสำคัญต่อมนุษย์
พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแถบชายฝั่งของแอฟริกา, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนถึงออสเตรเลีย โดยอาศัยอยู่ในโคลนตมตามป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำที่น้ำท่วมถึง กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก ซากพืช ซากสัตว์ต่าง ๆ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน
ปูทะเลนั้นมีความสำคัญต่อมนุษย์ในฐานะของสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมนำมาปรุงสดเป็นอาหาร เช่น ปูผัดผงกะหรี่, ปูนึ่ง เป็นต้น โดยทางการ ได้แก่ กรมประมง สนับสนุนให้เกษตรกรเพาะเลี้ยง โดยมักจะเลี้ยงในตะกร้าใกล้กับทะเล
ปูทะเลเป็นที่นิยมรับประทานอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเวลาที่กำลังลอกคราบเพราะเนื้อปูจะนิ่ม กระดองยังไม่แข็งเท่าไหร่ ซึ่งเรียกว่า "ปูนิ่ม"[3]
ปูจั๊กจั่น
(อังกฤษ: Red Frog Crab, Spanner Crab, Kona Crab; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ranina vanima) เป็นปูในวงศ์ Raninidae ถิ่นที่อยู่ตั้งแต่หมู่เกาะฮาวาย, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, ไทย จนไปถึงหมู่เกาะอินโดนีเซีย และ แอฟริกาตะวันออก จัดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ranina[1]
[แก้] ลักษณะทั่วไป
มีกระดองทรงรีรูปไข่กว้างทางด้านข้างขอบกระดอง ด้านหน้ามีหนามแหลม เป็นกลุ่มจำนวน 7 กลุ่ม กลุ่มละ 3 อัน ด้าน บนมีหนามแหลมแข็งขนาดเล็ก ปลายหนามชี้ไปทางส่วนหัว ปกคลุมทั่วไป มีก้านตายาว และตั้งขึ้นสามารถพับเก็บลงในร่องทางด้านหน้าไต้กระดองตากระเปาะทรงรีอยู่ปลายก้านตา มีหนวด 2 คู่ ขนาดเล็กสั้นหนวดข้างหนึ่งแยก 2 เส้น ส่วนอีกคู่หนึ่งมีฐานเป็นแผ่นแข็งมีขนขึ้นโดยรอบ ระยางค์ปากมีขนาดใหญ่แข็งแรง มีก้ามหนีบขนาดใหญ่ ปลายก้ามหันเข้าหากัน ฟันในส่วน ของก้ามหนีบด้านละ 6-7 อัน มีขาเดิน 4 คู่ สองคู่แรก มีปลายคล้ายใบหอก ส่วนสองคู่หลัง ปลายแบนคล้ายพาย ลักษณะลำตัวเป็นปล้อง 6 ปล้อง ขนาดเล็กต่อจากปลายกระดองม้วนด้านล่าง ปล้องสุดท้ายมีแพนหางรูปสามหลี่ยม ตอนท้ายมีขาว่ายน้ำ 1 คู่ ลำตัวด้านล่างมีสันนูน (เพศเมียจะเห็นได้ชัดเจน) มีขาสีน้ำตาลค่อน ข้างรอบขอบกระดอง เพศผู้จะเห็นชัดเจนลำตัวกับขาเดิน มีสีส้มอมแดงหรือน้ำตาล ส่วนท้องมีสีขาวขอบกระดอง หน้าและหลังมีสีขาวเช่นเดียวกัน ตามีหลายสี เช่น ดำ, เหลือง หรือน้ำตาล
มีความยาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร (ตัวผู้ประมาณ 7-14 เซนติเมตร ตัวเมียประมาณ 5-8 เซนติเมตร)
พบตามชายฝั่งที่เป็นโขดหิน แหล่งที่อยู่อาศัยชอบหมกตัวกับพื้นที่เป็นทรายรอบกองหินหรือแนวหินใต้น้ำระดับน้ำลึกประมาณ 60 เมตร กินอาหารที่เป็นซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อย
เป็นปูที่นิยมใช้รับประทานเป็นอาหาร
ปูนา
เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทปูน้ำจืดในวงศ์ Parathelphusidae (ทั้งวงศ์ไม่ได้เป็นปูนาทั้งหมด) แหล่งที่อยู่มักจะอยู่ในนาข้าวจึงเรียกว่าปูนา อาจหมายถึงหลายสปีชีส์
เกษรกรปลูกข้าวในไทย มักถือว่าปูนาเป็นศัตรูพืชของข้าว เพราะปูจะกัดกินต้นข้าวที่ปักดำใหม่ๆ ทำให้ชาวนาต้องปักดำซ้ำหลายครั้ง นอกจากนี้ ปูยังขุดรูตามคันนา ทำให้ัคันนาไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้
ปูม้า
(อังกฤษ: flower crab, blue crab, blue swimmer crab, blue manna crab, sand crab, ชื่อวิทยาศาสตร์: Portunus pelagicus) จัดเป็นปูที่อาศัยอยู่ในทะเลชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Portunus ซึ่งพบทั้งหมด 90 ชนิดทั่วโลก และพบในน่านน้ำไทยราว 19 ชนิด[1]
ลักษณะ
ลักษณะทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนตัว, อก และท้อง ส่วนหัวและอกจะอยู่ติดกัน มีกระดองหุ้มอยู่ตอนบน ทางด้านข้างทั้งสองของกระดองจะเป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อยเป็นหนามแหลมข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ด้วยกัน คู่แรกเปลี่ยนแปลงไปเป็นก้ามใหญ่เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2, 3 และ 4 จะมีขนาดเล็กปลายแหลมใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้ายตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพายใช้ในการว่ายน้ำ ขนาดกระดองสามารถโตเต็มที่ได้ราว 15-20 เซนติเมตร
[แก้] การกระจายพันธุ์
สำหรับปูม้าในประเทศไทยสามารถพบได้แทบทุกจังหวัดทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย โดยอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำและแถบชายฝั่งทะเล
[แก้] การขยายพันธุ์
ปูม้าตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันที่จับปิ้งและสี ตัวผู้มีก้ามยาวเรียวกว่า มีสีฟ้าอ่อนและมีจุดขาวตกกระทั่วไปบนกระดองและก้าม พื้นท้องเป็นสีขาว จับปิ้งเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียวสูง ตัวเมียจะมีก้ามสั้นกว่ากระดองและก้ามมีสีฟ้าอมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวประทั่วไปทั้งกระดองและก้าม เมื่อถึงฤดูกาลวางไข่ ปูม้าตัวเมียจะมีไข่ติดอยู่บริเวณระยางค์ซึ่งเคยเป็นขาว่ายน้ำในระยะวัยอ่อน โดยในระยะแรกไข่จะอยู่ภายในกระดองต่อมากระดองทางหน้าท้องเปิดออกมาทำให้สามารถเห็นไข่ชัดเจน จึงมักเรียกปูม้าในระยะนี้ว่าปูม้าที่มีไข่นอกกระดอง ไข่นอกกระดองนี้ในขณะที่เจริญแบ่งเซลล์อยู่ภายในเปลือกไข่ สีของไข่จะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองอมส้มเป็นสีเหลืองปนเทา สีเทาและสีเทาอมดำ ปูม้าที่มีไข่สีเทาอมดำนั้นจะวางไข่ภายใน 1-2 วัน
[แก้] ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ปูม้า นับเป็นปูอีกชนิดหนึ่งที่มนุษย์ใช้ปรุงเป็นอาหารเช่นเดียวกับปูดำ (Scylla serrata) หรือปูทะเล โดยใช้ปรุงได้ทั้งอาหารยุโรป, อาหารจีน, อาหารญี่ปุ่นและอาหารไทย สำหรับอาหารไทยนั้นยังอาจปรุงเป็นส้มตำปูม้าได้อีกด้วย
ปูม้า จึงเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่หน่วยงานภาครัฐ คือ กรมประมงได้ทำการเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงและส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไทยเลี้ยงในเชิงพาณิชย์[2] เช่น ที่จังหวัดกระบี่ เป็นต้น[3]
ปูลม
หรือ ปูผี (อังกฤษ: Ghost crab เป็นปูทะเลขนาดเล็กในสกุล Ocypode อยู่ในวงศ์ Ocypodidae อันเป็นวงศ์เดียวกันกับปูก้ามดาบด้วย
ปูลมมักถูกจำสับสนกับปูทหาร ซึ่งอยู่ในสกุล Mictyris ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ปูลมจะมีลำตัวที่ใหญ่กว่ามาก และมีกระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ไม่เหมือนปูทหารที่เป็นวงกลม และมีก้านตายาว ซ้ำยังมีพฤติกรรมการหากินที่ต่างกันออกไป กล่าวคือ ปูลมจะไม่ปั้นทรายเป็นก้อนเหมือนปูทหาร แต่จะใช้ก้ามคีบอาหารจำพวกซากพืช ซากสัตว์ และอินทรีย์สารต่าง ๆ เข้าปาก และมักจะทำรูอยู่ในป่าชายเลนที่เป็นเลนมากกว่า แต่ก็มีพบบ้างที่บริเวณหาดทราย[1]
ปูลมได้ชื่อว่าในภาษาไทยเนื่องจากเป็นปูที่วิ่งได้เร็วมาก และส่วนชื่อปูผีในภาษาอังกฤษ มาจากพฤติกรรมการหากินที่มักหากินในเวลากลางคืนมากกว่ากลางวัน ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์มาจากภาษากรีกคำว่า ocy หมายถึง "เร็ว" และคำว่า ποδός หมายถึง "เท้า" รวมความแล้วหมายถึงสัตว์ที่วิ่งเร็ว[2]
ปูลมพบทั้งหมด 28 ชนิด[3] โดยชนิดที่พบได้ในประเทศไทยได้แก่ ปูลมใหญ่ (Ocypode ceratophthalmus) และปูลมเล็ก (O. macrocera) ซึ่งมีพฤติกรรมหากินในเวลากลางวันด้วย[4]
ปูเสฉวน
(Hermit crab) เป็นสัตว์จำพวกขาปล้อง ไฟลัมอาร์โธรพอด อยู่ใน superfamily Paguroidea[1]เป็นปูขนาดเล็ก ขนาด 1-6 เซนติเมตร อาศัยในเปลือกหอยเปล่า โผล่เฉพาะหัวและขา 2 คู่ออกจากเปลือก ส่วนขาอีก 2 คู่ใช้ยึดกับเปลือกหอย กินซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหาร มีประมาณ 1,100 ชนิด
ปูราชินี หรือ ปูสามสี
(ชื่อวิทยาศาสตร์: Thaiphusa sirikit) เป็นปูประเภทหนึ่งพบได้ตามภูเขา ถูกพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2527 บริเวณจังหวัดนราธิวาส โดย นายสุรพล ดวงแข และว่าที่ ร้อยตรี พิทักษ์ ชิดเครือ ตำแหน่ง หัวหน้าหน่วยทหารพราน (กองทัพภาคที่ 4)
ปูราชินีมีปากและขามีสีแดงและส้ม ก้ามมีสีขาว และกระดองมีสีน้ำเงินอมม่วง เชื่อว่าสามารถเปลี่ยนสีได้เรื่อย ๆ ตามฤดูกาล ตัวเต็มวัยมีขนาดประมาณ 12.5 มิลลิเมตร โดยทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขออนุญาตใช้ชื่อ สิริกิติ์ เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติและเฉลิมฉลองครบรอบ 5 รอบของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้ทรงพระราชทานให้ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ปัจจุบันพบเป็นปูประจำถิ่นในป่าพรุน้ำจืดบริเวณลุ่มน้ำน้อย อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ และอุทยานแห่งชาติไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และไม่เคยมีรายงานพบที่อื่นอีกเลย มีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
1. การจำแนกชนิดและลักษณะโครงสร้าง
PhylumClassFamilyGenusSpecies |
MolluscaCrustaceaPortunidaeScyllaScylla serrata Forskal |
ปูทะเลมีส่วนประกอบของโครงสร้าง คือ มีส่วนหัวกับอกรวมกันเรียกว่า Cephalo throra ส่วนนี้จะมีกระดองห่อหุ้มไว้ ลักษณะภายนอกที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนคือ ลำตัวของปูได้วิวัฒนาการโดยเปลี่ยนแปลงไปเป็นแผ่นบาง ๆ เรียกว่า "จับปิ้ง" พับอยู่ใตั้กระดอง จับปิ้งเป็นอวัยวะที่ใช้เป็นที่อุ้มพยุงไข่ของแม่ปู (ในระยะที่มีไข่นอกกระดอง) นอกจากนี้ยังเป็นอวัยวะที่ใช้แยกเพศได้อีกด้วย กล่าวคือ ในเพศเมียจับปิ้งจะมีลักษณะกว้างปลายมนกลมกว่าเพศผู้ ซึ่งมีรูปเรียวและแคบ (ภาพที่ 1) กระดองของปูทะเลมีลักษณะเป็นรูปไข่และมีหนามเรียงจากตาไปทางด้านซ้าย-ขวาของกระดองด้านละ 9 อัน ตาของปูทะเลเป็นตาราวม ประกอบด้วยตาเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก มีความรู้สึกไวต่อสิ่งเคลื่อนไหวอยู่รอบตัวและยังมีก้านตาช่วยในการชูลูกตาออกมาภายนอกเบ้า และหดกลับเข้าไปได้ ทำให้มันมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างดียิ่งขึ้น
ปูทะเลมีขา 5 คู่ ขาคู่แรกอยู่หน้าสุดมีขนาดใหญ่มากเป็นพิเศษเรียกว่า "ก้ามปู" ปลายก้ามปูแยกออกเป็น 2 ง่ามมีลักษณะคล้ายคีม ใช้จับเหยือกินและป้องกันตัว ปลายสุดของขาคู่ที่ 2-4 มีลักษณะแหลมเรียกว่า "ขาเดิน" เพราะทำหน้าที่ในการเดินเคลื่อนที่ ส่วนขาคู่ที่ 5 ซึ่งเป็นคู่สุดท้ายเรียกว่า "ขาว่ายน้ำ" ตอนปลายสุดของขาคู่นี้มีลักษณะแบนคล้ายใบพาย ซึ่งธรรมชาติสร้างมาให้เพื่อความสะดวกในการว่ายน้ำ ปูทะเลมีเลือกสีฟ้าใส ๆ มีสารประกอบพวกทองแดงปนอยู่ในเลือก เมื่อได้รับบาดเจ็บ เช่น กระดองแตก หรือก้ามหลุด เลือดใส ๆ จะไหลออกมามีลักษณะข้น ๆ เมื่อโดนความร้อนจะกลายเป็นสีขาวขุ่นคล้ายครีม สำหรับอวัยวะภายในทั้งหมด ได้แก่ หัวใจ กระเพาะอาหาร ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ ฯลฯ จะรวมกันอยู่ภายในกระดอง
2. แหล่งที่อยู่อาศัยและการแพร่กระจายของปูทะเลในประเทศไทย
ปูทะเล มีชื่อสามัญที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ปูทะเล ปูดำ ปูขาว ปูทองหลาง ปูทองโหลง ปูทองแดง เป็นต้น และถึงแม้ว่าจะมีลักษณะภายนอก และพฤติกรรมบางอย่างที่สังเกตพบว่าแตกต่างกัน เช่น ปูขาว และปูดำ นั้นมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือสีลำตัว โดยที่ปูดำจะมีสีเข้มค่อนข้างคล้ำ มีนิสัยดุร้ายกว่าปูขาว ซึ่งมีสีเขียวขี้ม้าจาง ๆ และดุร้ายน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ลักษณะที่แตกต่างกันดังกล่าวนั้นอาจจะเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน และเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนว่าลักษระที่แตกต่างกันดังกล่าวนั้น แสดงชนิด (Species) ที่แตกต่างกัน ดังนั้นปูทะเลที่พบในประเทศไทย จัดอยู่ในชนิด Scylla serrata Forskal ปูทะเลพบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำกร่อย ป่าชายเลน และปากแม่น้ำที่มีน้ำทะเลท่วมถึง โดยขุดรูอยู่ตามใต้รากไม้หรือเนินดินบริเวณชายฝั่งทะเลทั้งฝ่ายอ่าวไทยและอันดามัน (ภาพที่ 2) โดยเฉพาะที่ชุกชุมในบริเวณที่เป็นหาดโคลน หรือเลนที่มีป่าแสม และโกงกาง ตั้งแต่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก อันได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด ชลบุรี บริเวณอ่าวไทยตอนใน ได้แก่ สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และอ่าวไทยฝั่งตะวันตกมีชุกชุมที่จังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ตรัง ส่วนที่ฝั่งอันดามันมีชุกชุมที่จังหวัดระนอง กระบี่ พังงา และสตูล เป็นต้น
3. วงจรชีวิตของปูทะเล
ปูทะเลเป็นสัตว์น้ำกร่อยประเภทหนึ่งที่มีการอพยพย้ายถิ่น เพื่อการแพร่พันธุ์ โดยปูเพศเมียจะอพยพจากแหล่งหากินในบริเวณเขตน้ำกร่อยออกไปวางไข่ในทะเล ซึ่งจากการอพยพนี้ จะมีขึ้นภายหลังจากที่ได้ผ่านการจับคู่ผสมพันธุ์แล้ว และในขณะที่กำลังเดินทางสู่ทะเล ปูบางตัวอาจจะปล่อยไข่ออกมาไว้ที่ส่วนท้องแล้วก็ได้ ชูชาติ, 2528 ได้อ้างถึงการศึกษา Hill ในปี ค.ศ. 1975 และ 1983 จึงกล่าวว่า ลูกปูวัยอ่อนมีอยู่ 2 ระยะได้แก่ ระยะ Zoea 1-5 และ Megalopa 1 ระยะ ในระยะ Zoea เป็นระยะที่ระยางค์ว่ายน้ำยังไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้ จึงล่องลอยหากินไปตามกระแสน้ำ เมื่อเข้าระยะ Megalopa จะมีการว่ายน้ำสลับกับการหยุดเกาะอยู่กับที่เป็นครั้งคราว ซึ่งถือได้ว่าระยะนี้เริ่มมีการแพร่กระจายเข้ามาหากินในบริเวณน้ำกร่อย เมื่อลูกปูลอกคราบจากระยะ Megalopa เป็นตัวปูที่มีลักษณะเหมือนพ่อแม่ทุกประการ จะท่องเที่ยวหากินอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยได้อย่างอิสระ หลังจากนั้นปูเพศเมียที่สมบูรณ์เพศและผ่านการจับคู่ผสมพันธุ์แล้ว จะอพยพออกไปวางไข่เช่นเดียวกับแม่ของมัน เป็นวัฎจักรเช่นนี้สืบไป (ภาพที่ 3)
4. อาหารและลักษณะการกินอาหาร
ปูทะเลเป็นสัตว์ออกหากินในเวลากลางคืนโดยออกจากที่หลบซ่อน หลังจากดวงอาทิตย์ตกไปแล้วประมาณ 1 ชั่วโมง และเข้าที่หลบซ่อนก่อนหน้าดวงอาทิตย์ขึ้นเพียงเล็กน้อยหรือหลังจากนั้นประมาณ 30 นาที ดังนั้น แสงและอาหารจึงมีอิทธิพลต่อการปรากฎตัวอยู่ภายนอกที่หลบซ่อน สำหรับอาหารที่ตรวจพบในกระเพาะอาหารของปูทะเล ได้แก่ หอยฝาเดียว หอยสองฝา กุ้ง ปู ปลา และเศษพืช ซึ่งปูจะชอบกินปูด้วยกันเองมากที่สุด และจากการทดลองดังกล่าวยังให้ข้อสังเกตว่า ปกติแล้วปูทะเลจะไม่กินอาหารที่มีการเคลื่อนที่ หรือสามารถหลบหลีกได้ดี เช่น ปลาและกุ้ง อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์การขุนปูทะเลในบ่อดิน พบว่า ปูจะออกจากที่หลบซ่อนเมื่อได้รับน้ำใหม่ และสามารถให้อาหารได้ทันทีหลังจากเก็บน้ำเต็มบ่อแล้ว เมื่อปูทะเลกินอาหาร พบว่าอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการดักจับเหยื่อ และตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ ว่าเป็นอาหารหรือไม่ คือ ส่วนปล่อยของขาเดิน อาหารจะถูกส่งเข้าไปในปากผ่านไปถึงกระเพาะแล้วออกสู่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งทอดผ่านจับปิ้ง ในที่สุดกากอาหารจะถูกถ่ายออกมาทางปล้องปลายสุดของจับปิ้ง การเลือกแหล่งหากินของปูทะเลนั้น ปูแต่ละวัยหากินในอาณาบริเวณที่แตกต่างกันกล่าวคือ ปูวัยอ่อน (Juvenile ขนาก 20-99 มิลลิเมตร) เป็นกลุ่มที่หากินในบริเวณป่าเลนและอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ขณะที่น้ำทะเลได้ลดลงแล้ว ปูวัยรุ่น (Subadult ขนาด 100-140 มิลลิเมตร) เป็นพวกตามการขึ้นของน้ำเข้ามาหากินในบริเวณป่าเลนและกลับลงสู่ทะเลไปพร้อม ๆ กับน้ำทะเล และปูโตเต็มวัย (Adult ขนาดตั้งแต่ 150 มิลลิเมตรขึ้นไป) มีการแพร่กระจายเข้ามาหากินพร้อมกับระดับน้ำที่สูงขึ้นเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะตระเวนอยู่ในระดับลึกกว่าแนวน้ำลงต่ำสุด (Subtidal level)
5. การเจริญเติบโต
ปูทะเลเจริญเติบโตยอาศัยการลอกคราบ เนื่องจากกระดองของปูเป็นสารประกอบพวกหินปูนที่มีความแข็งแรงมาก จึงไม่สามารถยืดขยายตัวออกไปได้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่คือ มีเนื้อแน่นเต็มกระดอง ก็จะมีการลอกคราบ เพื่อขยายขนาด (การเพิ่มน้ำหนักและขนาดตัว) โดยการสร้างกระดองใหม่มาแทนที่ ระยะเวลาในการลอกคราบของปูจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุของปู (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 ข้อมูลการเจริญเติบโตของปูทะเล Scylla serrate Forskal
ลำดับ
คราบ | ระยะเวลา
หลังฟักไข่ | ระยะเวลา
จากคราบก่อน | ค่าเฉลี่ยขนาด
คราบที่เพิ่มขึ้น | ความกว้างกระดอง |
ต่ำสุด | เฉลี่ย | สูงสุด |
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18 | 30
34
38
44
52
60
71
82
97
113
135
165
195
231
281
338
415
523 | 7
4
4
6
8
8
11
11
15
16
22
30
30
36
50
57
77
108 | 3.3
4.8
6.0
8.0
11.3
13.9
15.8
19.8
26.0
32.6
40.7
45.0
53.4
62.5
75.6
89.8
97.3
107.0 | 3.4
5.1
6.8
9.2
12.1
15.4
18.6
23.5
29.4
36.1
43.3
51.0
60.1
70.8
85.4
99.7
106.0
113.3 | 3.6
5.3
7.5
10.3
13.6
14.9
19.5
25.8
32.9
42.7
48.4
57.3
66.5
80.6
97.2
114.2
110.8
119.5 | -
1.7
1.7
2.4
2.9
3.3
3.2
4.9
5.9
6.7
7.2
7.7
9.1
10.7
14.7
14.6
6.3
7.3 |
หมายเหตุ:ระยะ
เวลา = วัน
ขนาด = มิลลิเมตร เมื่อปูทะเลลอกคราบใหม่ ๆ นั้น กระดองใหม่จะนิ่ม ผิวเปลือกย่น เรียกว่า "ปูนิ่ม" ซึ่งต่อมาจะค่อย ๆ ตึงและแข็งตัวขั้น ในระยะที่เป็นปูนิ่มจะเป็นระยะที่ปูมีความอ่อนแอมากที่สุด แทบจะเคลื่อนไหวไม่ได้ จึงต้องหาที่หลบซ่อนตัวให้พ้นจากศัตรู ระยะเวลาตั้งแต่ลอกคราบหลบซ่อนจนกระทั้งกระดองใหม่แข็งแรงสมบูรณ์เต็มที่แล้ว สามารถออกมาจากที่ซ่อนได้ กินเวลาประมาณ 7 วัน ปูทะเลในเขตร้อนจะใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตจนถึงขั้นสมบูรณ์เพศ ประมาณ 1.5 ปี สำหรับขนาดสมบูรณ์เพศของปูทะเลนั้น มีรายงานการศึกษาดังต่อไปนี้ สำหรับรายงานจากประเทศมาเลเซียพบว่า ปูเพศมียที่เริ่มมีการจับคู่ (mating) เป็นปูลำดับคราบที่ 16 17 และ 18 โดยมีขนาดความกว้างกระดองประมาณ 9.9-11.4 เซนติเมตร, 10.5-10.7 เซนติเมตร และ 10.7 เซนติเมตร ตามลำดับ ในประเทศไทยพบปูอุ้มไข่มีขนาดความกว้างกระดองอยู่ในช่วง 9.37-12.70 เซนติเมตร ปูทะเลในประเทศอาฟริกาใต้ ปูจะจับคู่เมื่อปูเพศผุ้มีความกว้างกระดอง 14.1-16.6 เซนติเมตร ส่วนเพศเมียมีความกว้างกระดอง 10.3-14.8 เซนติเมตร ส่วนปูทะเลบริเวณป่าชายเลนบางลา จ.ภูเก็ต ปูทะเลเพศเมียขนาดตั้งแต่ 11 เซนติเมตรขึ้นไป จะเริ่มมีการพัฒนารังไข่ หรือมีความสมบูรณ์เพศ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปูทะเลนั้น จากรายงานการทดลองเพาะฟักปูทะเลสามารถสรุปได้ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ภาวะสิ่งแวดล้อมบางประการสำหรับการเพาะฟักปูทะเล
ระยะ | ความเค็ม | อุณหภูมิ | ผู้ศึกษา |
Zoea-Megalopa
Zoea
1st instar-7th instar | 32
17.5
21-27 | 28-30
10-25
- | สมิง ทรงถาวรทวี และคณะ, 2522 ประเทศไทย
Hill, 1974 (อ้างตามชูชาติ, 2528 ประเทศออสเตรเลีย
Ong, 1966 ประเทศมาเลเซีย |
อย่างไรก็ตาม ความเค็มในบริเวณแหล่งน้ำกร่อยที่พบปูทะเลจะมีความผันแปรค่อนข้างมาก คือ อยู่ในช่วงประมาณ 10-36 ppt. (ส่วนในพัน)
6. ฤดูกาลผสมพันธุ์และวางไข่
สำหรับฤดูกาลวางไข่ผสมพันธุ์ของปูทะเลนั้น อยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคมและพบแม่ปูจะมีไข่ในระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม ปูดำมีไข่ชุกชุมระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม รายงานว่า ปูทะเลสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยจะวางไข่ชุกชุมที่สุดในระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม ไข่ของปูทะเลจะมีสีส้มแดง เมื่อไข่แก่ขึ้นจะเป็นสีน้ำตาลเกือบดำ ซึ่งถูกปล่อยออกมานอกกระดองบริเวณใต้จับปิ้ง ไข่นอกกระดองของปูทะเลมีน้ำหนัก ประมาณ 45.33 กรัม มีจำนวนประมาณ 1,863,859 ฟอง โดยเฉลี่ยแล้วปูทะเลโตเต็มที่ตัวหนึ่งจะมีไข่จำนวนประมาณ 2,228,202-2,713,858 ฟอง แม้ว่าการเลี้ยงปูทะเลในประเทศไทย จะมีมานานกว่า 20 ปีแล้วก็ตาม การทำฟาร์มเลี้ยงปูทะเลเพิ่งเริ่มทำกันอย่างจริงจังมาเมื่อไม่นานนี้ ทั้งนี้เนื่องจากตลาดภายนอกมีความต้องการปูทะเลสูงขึ้น ทำให้ปูขายได้ราคาดี และทำกำไรให้แก่ผู้เลี้ยงได้ไม่แพ้การเลี้ยงสัตว์น้ำอื่น ๆ วิธีการเลี้ยงปูทะเลที่นิยมทำกันมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่
1. เลี้ยงโดยวิธีขุน
วิธีขุนปู หรือการขุนปูทะเล หมายถึงการนำปูที่มีขนาดตั้งแต่ 1-4 ตัว/กก. ขณะที่ยังเป็นปูโพรก (ปูที่เนื้อไม่แน่นยังมีปริมาณน้ำอยู่ในเนื้อมาก) และปูเพศเมียที่มีไข่อ่อนมาขุนเลี้ยงเป็นระยะเวลาประมาณ 20-30 วัน ก็จะได้ปูเนื้อแน่นและปูไข่แก่ ซึ่งเป็นที่ต้องการบริโภคตลาด โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ ก.การเลือกทำเล หลักในการพิจารณาการเลือกทำเลขุนปูทะเล มีดังนี้ (1) อยู่ใกล้แหล่งน้ำกร่อย (ความเค็ม 10-30 pptใ) (2) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลงของน้ำทะเล โดยที่น้ำไม่ท่วมบ่อขณะเมื่อน้ำทะเลมีระดับสูงสุด และสามารถระบายน้ำได้แห้ง เมื่อน้ำลงต่ำสุด (3) มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการคมนาคมสะดวก (4) สภาพดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย สามารถเก็บกักน้ำได้ดี (5) เป็นแหล่งที่สามารถจัดหาพันธุ์ปูทะเลได้สะดวก (6) เป็นบริเวณที่ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ และมลภาวะ ข. การสร้างบ่อ บ่อที่นิยมเลี้ยงปูทะเลโดยทั่วไปเป็นบ่อดิน ซึ่งมีหลักการสร้างบ่อ ดังนี (1) ควรมีพื้นที่ประมาณ 200-600 ตารางเมตร (2) ขุดร่องรอบบ่อลึกประมาณ 80 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เมตร (เพื่อความสะดวกในการจับปู) ความลึกของบ่อประมาณ 1.5-1.8 เมตร (3) ประตูน้ำมีประตูเดียว (ทำเหมือนประตูนากุ้ง) (ภาพที่ 4) หรือฝังท่อเอสลอนเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 นิ้ว ท่อเดียวโดยใช้ฝาเปิด, ปิดก็ได้ ซึ่งใช้เป็นทางระบายน้ำเข้า-ออก ทางเดียวกัน (4) บริเวณคันบ่อและประตูน้ำใช้ไม้ไผ่ผ่าซีก อวนมุ้งเขียว หรือแผ่นกระเบื้องปักกั้นโดยรอบ เพื่อป้องกันการหลบหนีของปู โดยสูงจากขอบบ่อและประตูประมาณ 0.5 เมตร (ภาพที่ 5) (5) ใช้ตระแกรงไม้ไผ่ ขนาดกว้างของซีกไม้ 1-1.5 นิ้ว ห่างกันไม่เกินซี่ละ 1 เซนติเมตร กั้นตรงประตูระบายน้ำ (ภาพที่ 6) ค. การเตรียมบ่อและการจัดการบ่อ (1) ถ้าเป็นบ่อใหม่ควรทำความสะอาดบริเวณรอบบ่อ กำจัดวัชพืช ลอกเลนก้นบ่อถมรอยรั่วตามคันบ่อ แล้วโรยปูนขาวในบริเวณประมาณ 60 กก./ไร่ ให้ทั่วพื้นเพื่อฆ่าเชื้อโรค (2) กักเก็บน้ำในบ่อ ลึกประมาณ 1 เมตร (3) ถ่ายเปลี่ยนน้ำทุกวันที่สามารถกระทำได้ (ในปริมาณ 3/4 หรือแห้งบ่อ)
ง.การรวบรวมพันธุ์ ผู้เลี้ยงจะซื้อพันธุ์จากแพค้าสัตว์ซึ่งรับซื้อปูมาจากชาวประมง โดยที่ปูเหล่านี้ถูกชาวประมงจับมาด้วยเครื่องมือหลายชนิด เช่น อวนลอยปู แร้วปู ลอบปู หน่วงปู ตะขอเกี่ยวปู โดยที่ปูโพรกจะมีขนาดประมาณ 1-4 ตัว/กก. และปูไข่อ่อนมีขนาดประมาณ 1-3 ตัว/กก. ซึ่งในการพิจารณาเลือกปูนั้น ควรจะเป็นปูที่มีระยางค์สมบูรณ์อย่างน้อยมีก้าม 1 ก้าม เนื่องจากปูที่ไม่มีก้าม ถึงแม้จะมีไข่แก่ก็มีราคาต่ำ จ. การปล่อย และการจัดการด้านอาหาร การปล่อยปูลงขุนในบ่อ โดยทั่วไปนิยมปล่อยปูด้วยอัตราความหนาแน่นประมาณ 2-3 ตัว/ตรม. โดยก่อนที่จะปล่อยปูลงในบ่อเลี้ยงจะใช้น้ำในบ่อรดตัวปูให้ชุ่ม เพื่อให้ปูปรับสภาพร่างกายให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในบ่อ จากนั้นจึงตัดเชือกมัดปูออกปล่อยให้ปูคลานในบ่อ ขณะเลี้ยงมีการดูแลและเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน ซึ่งบ่อเลี้ยงปูจะสร้างในที่ที่สามารถเปิดให้น้ำทะเลไหลเข้าออกได้โดยตรงในขณะน้ำขึ้น และในการระบายน้ำจะระบายในช่วงน้ำลงจนเกือบแห้งบ่อเหลือประมาณ 10 เซนติเมตร (เพื่อให้ปูฝังตัวหลบความร้อนและศัตรูได้) ระดับน้ำในบ่อมีความลึกประมาณ 1 เมตรตลอดระยะเวลาเลี้ยง ผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นดูแลแนวรั้วกั้นรอบบ่อและตะแกรงประตูน้ำให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการหลบหนีของปู การให้อาหารนั้น จะให้อาหารสดวันละครั้งในตอนเย็น หรือหลังกักเก็บน้ำเต็มบ่อโดยสาดให้ทั่วบ่อ หรือสาดใส่ในถาดอาหารที่วางไว้รอบบ่อ ซึ่งอาหารที่นิยมเลี้ยงปูมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ปลาเป็ด และหอยกะพง โดยต้องรู้จักหลักการจัดการเรื่องอาหารดังนี้ (1) ปลาเป็ด หาซื้อได้จากแพปลา ซึ่งเป็นปลาเบญจพรรณสด นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1-2 นิ้ว อัตราการให้ประมาณ 7-10% ของน้ำหนักปู หรือโดยเฉลี่ยจะให้ปลาเป็ด 1 ชิ้น ต่อปู 1 ตัว สำหรับปลาเป็ดสามารถเก็บไว้เผื่อวันต่อไปได้ โดยหมักเกลือเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิดเช่น ถังพลาสติก โอ่ง เป็นต้น โดยใช้เกลือประมาณ 10% ของน้ำหนักปลาเป็ด (2) หอยกะพง หาซื้อได้จากชาวประมง โดยจะให้หอยกะพงประมาณ 40% ของน้ำหนักปู แต่ทั้งนี้ควรจะทำความสะอาดก่นอนำมาให้เป็นอาหารปู สำหรับการขุนเลี้ยงปูโพรก ให้กลายเป็นปูเนื้อแน่น และปูไข่แก่นั้นใช้ระยะเวลาประมาณ 25-35 วัน ฉ. การเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อขุนปูทะเลจนได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการแล้ว ผู้เลี้ยงจะทำการจับปูทะเลโดยมีวิธี่การจับดังนี้ (1) การตักปูเล่นน้ำ วันที่จับปูทะเลเป็นวันที่ระดับน้ำทะเลขึ้น-ลงสูง เพราะสามารถระบายน้ำได้หมดบ่อและสะดวกต่อการจับ ผู้เลี้ยงจะระบายน้ำจนแห้งบ่อ แล้วเปิดน้ำเข้าในช่วงน้ำขึ้น ปูจะมารับน้ำใหม่บริเวณตระแกรงหน้าประตูน้ำ จากนั้นใช้สวิงด้ามยาว (ภาพที่ 7) ตักปูขึ้นมาพักในถัง แล้วจึงใช้เชือกมัด (ภาพที่ 8) วิธีนี้เป็นการจับปูในวันแรก ๆ ของการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อลดปริมาณปูในบ่อ แม้ว่าวิธีการนี้จะไม่สามารถจับปูได้หมดบ่อแต่จะลดความเสียหายจากการบอบช้ำของปูได้เป็นอย่างดี
(2) การจับน้ำแห้ง หรือคราดปู โดยการระบายน้ำให้หมดบ่อแล้วใช้คนลงไปคราดปูด้วยคราดเหล็ก (ภาพที่ 9) แล้วลำเลียงปูขึ้นจากบ่อด้วยสวิงด้ามสั้น (ภาพที่ 10) เพื่อมาพักจากนั้นจึงล้างให้สะอาดก่อนการมัด
(3) การเกี่ยวปูในรู (ต่อเนื่องจากการใช้คราดปู) เมื่อคราดปูบริเวณพื้นลานบ่อหมดแล้วจะเหลือปูในรู ต้องใช้ตะขอเกี่ยวปูใส่สวิงแล้วจึงนำไปมัดด้วยเชือก ผลผลิตที่ได้จากการขุนปูทะเลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประมาณ โดยเฉพาะในเรื่องการดูแลเอาใจใส่ ทั้งในเรื่องการให้อาหาร คุณภาพน้ำ และสภาพบ่อ เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะให้ผลผลิตประมาณ 80-95% ช.ต้นทุนและผลตอบแทนของการขุนปูทะเล ตารางที่ 3 เป็นตัวอย่างต้นทุน และผลตอบแทนของการขุนปูทะเลที่ จ.สุราษฎร์ธานีในบ่อขนาด 369 ตารางเมตร ใช้เวลาเลี้ยง 24 วัน ตามตารางที่ 3 และ 4 ดังนี้
ตารางที่ 3 ต้นทุนการขุนปูทะเลต่อฟาร์มต่อรอบ
| บาท/ฟาร์ม | บาท/กก.</th> | ร้อยละของ
ต้นทุนทั้งหมด |
1. ต้นทุนผันแปร | | | |
ค่าพันธุ์ปูค่าอาหารค่าน้ำมันเชื้อเพลิงค่าจ้างแรงงานค่าเชือกมัดปูค่าภาชนะบรรจุค่าซ่อมเครื่องมืออุปกรณ์ค่าลอกเลน, ซ่อมแซมบ่อค่าขนส่งเบ็ดเตล็ดรวมต้นทุนผันแปร | 11,492.50
1,935.10
18.90
906.00
52.60
75.79
25.00
200.80
289.00
67.00
15,062.69 | 49.87
8.40
3.93
3.93
0.23
0.33
0.11
0.87
1.25
0.29
69.21 | 57.24
9.64
0.09
4.51
0.27
0.38
0.12
1.00
1.44
0.33
75.02 |
2. ต้นทุนคงที่ | | | |
ค่าเสื่อมราคาของบ่อและรั่วค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ค่าใช้ที่ดินรวมต้นทุนผันแปร | 464.35
105.80
453.12
1,023.27 | 2.02
0.64
1.97
4.45 | 2.31
0.53
2.26
5.10 |
3. ต้นทุนค่าเสียโอกาสการใช้ปัจจัยการผลิตของตนเอง | | | |
แรงงานครัวเรือนดอกเบี้ยลงทุนในต้นทุนผันแปรดอกเบี้ยลงทุนในต้นทุนคงที่รวมต้นทุนค่าเสียโอกาสทั้งหมด | 2,674.00
1,244.49
71.78
3,990.27 | 11.60
5.40
0.31
17.31 | 13.32
6.20
0.36
19.88 |
รวมต้นทุนทั้งหมด | 20,076.23 | 90.97 | 100.00 |
ตารางที่ 4 ผลผลิตและผลตอบแทนของฟาร์มต่อรอบการขุนปูทะเล
| เฉลี่ยต่อฟาร์ม | เฉลี่ยต่อกิโลกรัม |
ผลผลิต (กก.)
รายได้ทั้งหมด (บาท)
ผลตอบแทน (บาท)
กำไรดำเนินการรายได้สุทธิผลตอบแทนต่อเงินทุนและการจัดการกำไรสุทธิ
อัตราส่วนผลตอบแทนกำไรสุทธิต่อต้นทุนผันแปร (%)กำไรสุทธิต่อต้นทุนทั้งหมด (%)กำไรสุทธิต่อรายได้ทั้งหมด (%) | 230.44
24,339.00
9,276.31
8,253.04
1,588.777
4,262.777
23.30
21.23
17.51 |
105.62
40.25
35.81
6.89
18.50
|
2. การเลี้ยงโดยวิธีอนุบาลลูกปู
การเลี้ยงโดยวิธีอนุบาลลูปปูทะเล หมายถึง การนำปูขนาดเล็กที่มีน้ำหนักน้อย คือ ขนาดประมาณ 6-10 ตัว/กก. มาเลี้ยงในระยะเวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไปจนได้ปูขนาดใหญ่ (โดยการลอกคราบ) และมีเนื้อแน่นหรือปูไข่ก็ตามที่ตลาดต้องการ ปัจจุบันการเลี้ยงปูทะเลโดยวิธีนี้ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงนานกว่า ทำให้ต้องใช้ความระมัดระวังเอาใจใส่ในการดูแลมาก โดยเฉพาะระยะที่ปูลอกคราบแต่ละครั้งจะมีการกินกันเอง อีกทั้งได้รับผลตอบแทนช้า ซึ่งย่อมส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีรายได้น้อย อย่างไรก็ตามได้มีรายงานการเลี้ยงปูทะเลโดยวิธีอนุบาลจากลูกปูขนาดเล็กของนักวิชาการประมง ซึ่งทำการทดลองไว้ในปี 2532 โดยได้นำปูทะเลขนาด 7-10 ตัว/กก. ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดินขนาด 638 ตารางเมตร ด้วยอัตราความหนาแน่น 1.7 ตัว/ตารางเมตร ให้ปลาเป็ดเป็นอาหารวันละ 2 มือ ๆ ละ 5% ของน้ำหนักตัว ใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 77 วัน ได้ผลผลิต (น้ำหนักที่จับคืนได้) ประมาณร้อยละ 55.28 ปูที่จับคืนได้มีขนาดความกว้างประดองและน้ำหนักเฉลี่ยในแต่ละตัวเพิ่มขึ้น 2.2 เซนติเมตร, 98.89 กรัม ในปูเพศเมีย และ 1.7 เซนติเมตร 138.449 กรัม ในปูเพศผู้ ซึ่งจากรายงานการทดลองนี้ได้ผลผลิตค่อนข้างต่ำ โดยได้กำไรสุทธิเป็นเงิน 2,594 บาท ผลทดลองเลี้ยงปูทะเล (ปูดำ) จากจังหวัดระนอง โดยนำปูตัวละ 50-155 กรัม มาปล่อยลงเลี้ยงในบ่อพื้นที่ 638 ตารางเมตร และ 800 ตารางเมตร โดยมีอัตราปล่อย 0.6 และ 0.8 ตัว ต่อตารางเมตร ตามลำดับ ให้หอยกะพงในปริมาณ 40% ของน้ำหนักตัว วันละครั้งในตอนเย็น ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 2 เดือน อัตราการจับคืน (จำนวนตัว) ร้อยละ 57.63 ได้ผลกำไร 547 บาท การเลี้ยงปูทะเลยังมีลู่ทางที่น่าจะทำรายได้ หรือผลตอบแทนสูง หากมีการพัฒนาการเลี้ยง และเอาใจใส่อูแลให้มากขึ้น เนื่องจากปูเป็นสัตว์น้ำที่ปล่อยลงเลี้ยงได้อย่างต่อเนื่อง โดยเราสามารถคัดขนาดปูที่ต้องการขึ้นมาจำหน่ายได้ตลอดเวลาด้วย วิธีการจับปูเล่นน้ำ ซึ่งจากผลการทดลองดังกล่าวได้ขอเสนอแนะไว้ดังนี้คือ 1. ควรนำปูทะเลที่มีขนาดน้ำหนักตัวมากกว่า 120 กรัม หรือในระยะคราบที่ 15-16 ในตารางที่ 1 เนื่องจากเมื่อลอกคราบแล้วจะได้ปูตามขนาดที่ตลาดต้องการในเวลาที่ไม่มากนัก คือ ประมาณ 2 เดือน 2. ควรควบคุมปริมาณ และวิธีการให้อาหารที่เหมาะสม โดยนำอาหารใส่ในภาชนะรองรับที่วางกระจายไว้รอบบ่อ เพื่อป้องกันเศษอาหารที่เหลือเน่าเปื่อยหมักหมมก้นบ่อ อันจะเป็นสาเหตุให้ก้นบ่อเน่าเสีย เนื่องจากปูมักจะฝังตัวตามพื้นก้นบ่อ และนอกจากนี้ ควรตรวจสอบปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของปู โดยเพิ่มความถี่ในการให้อาหารให้มากขึ้น หรือลดปริมาณอาหารในช่วงที่มีการลอกคราบ เป็นต้น 3. หมั่นตรวจสอบการเจริญเติบโตอยู่เสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อคัดปูที่ได้คุณภาพตามต้องการขึ้นจำหน่าย และปล่อยปูลงเลี้ยงต่อไปได้อีกอย่างต่อเนื่อง 4. ศึกษาคุณภาพน้ำ และสภาพบ่อให้ดีอยู่เสมอ ขั้นตอนในการดำเนินการเลี้ยงปูทะเล ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมบ่อ การจัดการบ่อและการเก็บเกี่ยวนั้น มีวิธีการเช่นเดียวกันกับการขุนปูทะเลดังได้กล่าวมาแล้ว ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปูทะเล สรุปได้ดังนี้ 1. ขาดแคลนพันธุ์ปูในบางฤดูกาล ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2. การขโมย 3. การตลาดซึ่งถูกกำหนดราคาขาย-ซื้อโดยแพสัตว์น้ำ ทำให้ในช่วงที่มีปูมากราคาปูจะตกจนผู้เลี้ยงประสบการขาดทุน 4. ศัตรู ทั้งในกรณีการกินกันเอง หรือทำร้ายกันเองของปูและพยาธิ เป็นต้น ทำให้อัตราการรอดตายต่ำ (ในกรณีที่ไม่มีการจัดการที่ดี) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปูทะเลเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าสัตว์น้ำประเภทอื่น ๆ อีกทั้งคุณค่าโภชนาการ และเนื้อมีรสดี ทำให้ปูทะเลได้รับความนิยมในการบริโภคสูง ดังนั้นความต้องการของตลาดจึงมีปริมาณมากขึ้นเป็นลำดับ การจับปูทะเลจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่เพียงพอตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้ จึงได้มีการเพาะเลี้ยงปูทะเลขึ้น เพื่อให้ได้ปูทะเลที่มีคุณภาพและปริมาณตามความต้องการ ปริมาณความต้องการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้นนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์ปูทะเลในธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การพัฒนาการเพาะเลี้ยงปูทะเลจึงควรกระทำไปพร้อม ๆ กับการอนุรักษ์พันธุ์ เพื่อให้ทรัพยากรสัตว์น้ำประเภทนี้ดำรงอยู่ต่อไปในน่านน้ำ รัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการในการอนุรักษ์พันธุ์ปูธรรมชาติโดยการควบคุมมิให้ทำการประมงปูขนะมีไข่นอกกระดอง ดังนี้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32(7) แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้มีใจความสำคัญ ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงปูในทะเลไม่ว่าด้วยวิะใดแก่ปูที่มีไข่นอกกระดอง ภายในระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งได้แก่พันธุ์ปูเหล่านี้ 1.ปูทะเล Scylla serrata (Forskal) 2. ปูม้า Portunus pelagicus (Linnaeus) 3. ปูลาย Charybdis ferriatus (Linnaeus)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น